เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับใช้ได้กับการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัยในส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย กำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการและเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษา นำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้น กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาอย่างกว้างๆ มาตรฐานการ เรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของสาระการเรียนรู้ แต่ละกลุ่มสถานศึกษา ต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้ สถานศึกษา ต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดสถานศึกษา ต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกชั้นให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียน โดยใน ช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตรเป็นรายปี และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษภาคบังคับ หลักสูตร ที่จัดขึ้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต กระบวนการ เรียนรู้ทางสังคม ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การติดต่อสื่อสารและพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เน้นการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม
เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน มุ่งปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพมุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่างๆ ลักษณะหลักสูตรในช่วงชั้นนี้จัดเป็นหน่วยกิตเพื่อให้มีความยืดหยุ่น ในการจัดแผนการเรียนรู้ ที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัด ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
เนื้อหาที่เรียน ครูผู้สอนจะจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสนใจของผู้เรียนรวมทั้งสร้างบรรยากาศใน ห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น จัดมุมต่างๆ มุมบล็อก มุมเครื่อง เล่นสัมผัส มุมเกมการศึกษา มุมศิลปะ มุมหนังสือ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมตามความสนใจและครูจะเป็นผู้สังเกตและให้การสนับสนุนจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อ การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เต็มตามศักยภาพและสอดคล้องเป็นไปตามจุดประสงค์ของการ เรียนรู้ในแต่ละระดับโดยปรับผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และปรับบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ชี้แนะ สนับสนุนและเอาใจใส่เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ ด้วยวิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัยส่งเสริมผู้เรียนให้สร้างองค์ความรู้โดยเรียนจากประสบการณ์ จริง และกิจกรรมต่างๆที่เด็กได้สัมผัส ปฎิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจ
จากโครงสร้างหลักสูตรตามปกติในระบบสองภาษานั้น การจัดการเรียนการสอนจะเท่ากับ 50 : 50 ในรายวิชาหลัก ซึ่งในที่นี้หมายถึงวิชาคณิตศาสตร์,ภาษาอังกฤษ, พลศึกษา, ศิลปะและสปช. (ในระดับประถม) วิทยาศาสตร์และสังคม (ในระดับมัธยม) แต่เพื่อให้นักเรียนในระดับอนุบาล - ป.1 ได้มีทักษะทางการฟังและการพูดมากขึ้น ทางโรงเรียนจึงเพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้นกว่าเดิมคือ 85: 15 เพื่อให้ นักเรียนได้มีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนระดับสูงต่อไปถือเป็นบริการที่ทางโรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนโดยไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างใด
ในระดับประถมนี้จะมีการแยกรายวิชาเรียนชัดเจนขึ้นการเรียนทั้ง 2 ภาษาในวิชาหลัก (ที่กล่าวข้างต้น) จะคิดเป็น 50: 50 โดยประมาณ ทั้งนี้เพราะนักเรียนจะต้องได้รับการปูพื้นฐาน ในวิชาภาษาไทยให้มาก ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการสอบต่อไปในขณะที่ชั้นประถมปีที่ 2 ยังคง มีอัตราส่วนที่อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการปรับตัวกับการเรียนภาษาไทยได้ดีขึ้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ถือเป็นพื้นฐานของระดับมัธยมต้น และมัธยมปลายทางโรงเรียนจึงมุ่งหวังให้นักเรียน เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับสูง เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสำหรับการเรียนต่อ ในระดับมหาวิทยาลัย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 นักเรียน บางคนอาจจะต้องเตรียมตัวสำหรับ การสอบเรียนต่อในระดับมัธยมปลายของโรงเรียนรัฐบาล นักเรียนจึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับวิชาในภาคภาษาไทยให้มากขึ้น เพื่อการสอบ แข่งขันในอนาคต
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทางโรงเรียนจึงสนับสนุนให้นักเรียนได้รับความรู้ในภาคภาษาไทยอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันนักเรียนทุกคนยังคงได้เรียนภาษาอังกฤษจาก คุณครูชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะเมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นสูงสุดของทางโรงเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะมีทางเลือกทางการศึกษาต่อได้มากกว่า 1 ทาง ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมหาวิทยาลัยระบบนานาชาติหรือการศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดโครงการพิเศษไว้ให้กับนักเรียนเช่นกัน