เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับใช้ได้กับการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัยในส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย กำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการและเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษา นำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้น กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาอย่างกว้างๆ มาตรฐานการ เรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของสาระการเรียนรู้ แต่ละกลุ่มสถานศึกษา ต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้ สถานศึกษา ต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดสถานศึกษา ต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกชั้นให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียน โดยใน ช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตรเป็นรายปี และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และปีที่ 4-6

     การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษภาคบังคับ หลักสูตร ที่จัดขึ้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต กระบวนการ เรียนรู้ทางสังคม ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การติดต่อสื่อสารและพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เน้นการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม

ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

     เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ

ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

     เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน มุ่งปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพมุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่างๆ ลักษณะหลักสูตรในช่วงชั้นนี้จัดเป็นหน่วยกิตเพื่อให้มีความยืดหยุ่น ในการจัดแผนการเรียนรู้ ที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัด ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

ชั้นอนุบาล 1 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



      เนื้อหาที่เรียน ครูผู้สอนจะจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสนใจของผู้เรียนรวมทั้งสร้างบรรยากาศใน ห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น จัดมุมต่างๆ มุมบล็อก มุมเครื่อง เล่นสัมผัส มุมเกมการศึกษา มุมศิลปะ มุมหนังสือ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมตามความสนใจและครูจะเป็นผู้สังเกตและให้การสนับสนุนจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อ การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เต็มตามศักยภาพและสอดคล้องเป็นไปตามจุดประสงค์ของการ เรียนรู้ในแต่ละระดับโดยปรับผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และปรับบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ ชี้แนะ สนับสนุนและเอาใจใส่เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ ด้วยวิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัยส่งเสริมผู้เรียนให้สร้างองค์ความรู้โดยเรียนจากประสบการณ์ จริง และกิจกรรมต่างๆที่เด็กได้สัมผัส ปฎิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจ

ชั้นอนุบาล 2-3 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 80 : 20



     จากโครงสร้างหลักสูตรตามปกติในระบบสองภาษานั้น การจัดการเรียนการสอนจะเท่ากับ 50 : 50 ในรายวิชาหลัก ซึ่งในที่นี้หมายถึงวิชาคณิตศาสตร์,ภาษาอังกฤษ, พลศึกษา, ศิลปะและสปช. (ในระดับประถม) วิทยาศาสตร์และสังคม (ในระดับมัธยม) แต่เพื่อให้นักเรียนในระดับอนุบาล - ป.1 ได้มีทักษะทางการฟังและการพูดมากขึ้น ทางโรงเรียนจึงเพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้นกว่าเดิมคือ 85: 15 เพื่อให้ นักเรียนได้มีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนระดับสูงต่อไปถือเป็นบริการที่ทางโรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนโดยไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างใด

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



     ในระดับประถมนี้จะมีการแยกรายวิชาเรียนชัดเจนขึ้นการเรียนทั้ง 2 ภาษาในวิชาหลัก (ที่กล่าวข้างต้น) จะคิดเป็น 50: 50 โดยประมาณ ทั้งนี้เพราะนักเรียนจะต้องได้รับการปูพื้นฐาน ในวิชาภาษาไทยให้มาก ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการสอบต่อไปในขณะที่ชั้นประถมปีที่ 2 ยังคง มีอัตราส่วนที่อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการปรับตัวกับการเรียนภาษาไทยได้ดีขึ้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ถือเป็นพื้นฐานของระดับมัธยมต้น และมัธยมปลายทางโรงเรียนจึงมุ่งหวังให้นักเรียน เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับสูง เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสำหรับการเรียนต่อ ในระดับมหาวิทยาลัย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 : อัตราส่วนการสอนเท่ากับ 50 : 50



     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 นักเรียน บางคนอาจจะต้องเตรียมตัวสำหรับ การสอบเรียนต่อในระดับมัธยมปลายของโรงเรียนรัฐบาล นักเรียนจึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับวิชาในภาคภาษาไทยให้มากขึ้น เพื่อการสอบ แข่งขันในอนาคต

     สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทางโรงเรียนจึงสนับสนุนให้นักเรียนได้รับความรู้ในภาคภาษาไทยอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันนักเรียนทุกคนยังคงได้เรียนภาษาอังกฤษจาก คุณครูชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะเมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นสูงสุดของทางโรงเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะมีทางเลือกทางการศึกษาต่อได้มากกว่า 1 ทาง ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมหาวิทยาลัยระบบนานาชาติหรือการศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดโครงการพิเศษไว้ให้กับนักเรียนเช่นกัน